รูปภาพ

รูปภาพ
สมาชิกกลุ่มดอกมะลิ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554
สำหรับการเรียนในวันนี้ก็เป็นการเข้าเรียนวันสุดท้ายอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาส่งงานทุกอย่างที่ยังค้างอยู่และก็ได้ตรวจสอบงานที่่นักศึกษาส่งไปแล้วทั้งหมด และอาจารย์ก็ได้นัดหมายกับนักศึกษาเกี่ยวกับวันสอบปลายภาค โดยได้นัดหมายมาสอบในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 09.00น. ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์

สำหรับบรรยากาศในการเรียนวันนี้ก็รู้สึกใจหายนิดหน่อยเพราะเป็นวันสุดท้ายแล้วที่จะได้เข้าเรียนกับอาจารย์ในเทอมนี้ สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์จินตนาที่ได้ให้ความรู้และให้คำปรึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนหรือเรื่องอื่นๆที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554

สำหรับวันนี้ก็ได้ทะแบบทดสอบ เรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมในมุมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายกับเด็ก ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้ค่ะ
- การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
- มุมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
- มุมบ้าน
- มุมหมอ
- มุมร้านค้า
- มุมจราจร
หลังจากที่ำทำแบบทดสอบเสร็จแล้วอาจารยืก็ได้สอนเพิ่มเติมในเรื่องของ ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา ดังนี้
- เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
- สอนแบบเป็นธรรมชาติ
- สอนอย่างมีความหมาย
- สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห้น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
- สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน (ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้)
- ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน
และอาจารย์ก็ให้ฟังเพลง เกาะสมุย แล้วให้บอกว่าฟังแล้วรู้สึกอย่างไร และ ในเนื้อเพลงเค้าต้องการบอกอะไรกับเราบ้าง
สำหรับบรรยากาศในการเรียนวันนี้ก็เต็มไปด้วยความเครียดเพราะแต่ละคนรวมถึงดิฉันด้วยไม่ได้เตรียมตัวมาเลยจึงทำให้ทำแบบทดสอบไม่ค่อยได้ส่วนของดิฉันนั้นทำไม่ทันเหลือตั้ง 3 ข้อ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

สำหรับการเรียนในวันนี้ก็อัดแน่นไปด้วนเนื้อหา ดังนี้ค่ะ
กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆ ตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็กเขียนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุด
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
- เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิด วิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และ สะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
- มีหนังสือ วัสดุ สิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
- ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนจนทั่วถึง
- ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
- ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
- เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน
- ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบๆ
- ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ
- ครูตรวจสอบสภาพการเขียน
ความเชื่อมโยงภาษพูดกับภาษาเขียน
ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเด็กได้เล่าได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเอง
จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษา คือ การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือซึ่วเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการอ่านหนังสือ
ขั้นแรก คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ( คน อาหาร สิ่งที่อยู่รอบตัว) กู๊ดแมน เรียกว่า "รากเหง้าของการอ่าน เขียน"
ขั้นที่สอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้น เรียกชื่อได้ หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่ (ตำแหน่ง) ของตัวอักษร
ขั้นที่สาม เริ่มแยกแยะตัวอัักษร มีระเบียบแบบแผนของตัวอักษรและเริ่มจากซ้ายไปขวา
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการอ่าน
การรับรู้และพัฒนาการด้านภาษาเขียนของเด็กก่อนวัยเรียน
ระยะแรก เด็กจะใช้สัญลักษณ์ที่คิดขึ้นมาเองแทนตัวอักษร
ระยะสอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูดโดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
ระยะสาม เด็กเริ่มใช้สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับอักษรจริง
การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน ที่สามารถสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในการเรียนของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มความสนใจ
สำหรับบรรยากาศในการเรียนวันนี้นอกจากจะอัดแ่น่นไปด้วยเนื้อหาสาระต่างๆแล้วบรรยากาศรอบตัวดิฉันก็เต็มไปด้วยความวุ่นวายเพราะเพื่อนบางคนก็กินไปด้วยเรียนไหด้วย บางคนก็คุยกัน ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนมากนัก แต่ก็พอจะเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนบ้าง

ู่

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 25 มกราคม 2554

สำหรับการเรียนในวันนี้ก็อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาแต่ก็มีเพลงมาช่วยผ่อนคลาย ได้แก่

เพลง สวัสดี
สวัสดี สวัสดี สวัสดี ยินดีที่พบกัน
เธอและฉัน พบกันสวัสดี

เพลงชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก ครูถามทักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้ ชื่ออะไรขอให้บอกมา

เพลงอย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

เพลงตาและหู
ตาเรามีไว้ดู หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอนครูสั่ง ต้องตั้งใจฟังต้องตั้งใจดู (ซ้ำ)

เนื้อหาที่เรียน
ภาษาธรรมชาติ
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชิวิตอยู่แล้วเด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิช
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหา
จูดิท นิวแมน
มีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึึ้นจาก หลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล
ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
กระบวนการ
บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในส่วนใด
การวางแผน
- แผนระยะสั้น
- แผนระยะยาว
สำหรับบรรยากาศในการเรียนนั้นก็มีทั้งเครียดและผ่อนคลายเพราะมีเพลงเข้ามาช่วยจึงทำให้ไม่น่าเบื่อมาก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 18 มกราคม 2554

สำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นด้วยการให้พูดคำคล้องจอง ดิฉันพูดคำว่า คิ้ว โดยที่ กมลภู พูดต่อคำของดิฉัน หลังจากนั้น อาจารย์ให้อกไปทำกิจกรรมหน้าห้อง ดิฉันได้วาดภาพแล้ว เอามาเล่าต่อกันเป็นนิทานจนครบทุกคน โดยดิฉันวาดภาพกระเป๋าและได้เล่าว่าวันนี้ดิฉันได้ซื้อกระเป๋าใบใหม่ และนอกจากนี้ก็มีอีกหลายหัวข้อที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ ได้แก่
- คำคล้องจอง
- หนูรู้สึกอย่างไร ( เศร้า ขำ หงุดหงิด ตกใจ)
- ครอบครัวของฉัน
- ฟังและปฏิบัติโดยมีข้อตกลง
- ทำตรงกันข้าม
- กระซิบ
- วาดภาพแล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว
- ร้องเพลง
- วาดไปเล่าไป
หลังจากที่ทำกิจกรรมครบแล้วอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษคนละหนึ่งแผ่นให้นักศึกษาวาดวงกลม 3 วง โดยทำเป็นแผนผังครอบครัวของฉันให้ทำวงกลมตามจำนวนสมาชิกในครอบครัวของตนเอง
สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกสนานเนื่องจากได้ร่วมทำกิจกรรมทำให้ไม่น่าเบื่อค่ะ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2554

(เรียนชดเชย) วันนี้เป็นวันที่เรียนชดเชย แต่ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากป่วย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9


วันอังคาร ที่ 11 มกราคม 2554

สำหรับการเรียนในวันนี้ก็ได้ส่งงานสมุดเล่มเล็กและสิ่งที่ชอบทาน อาจารย์ก็ได้เสนอแนะงานของดิฉันว่าควรเขียนตัวหนังสือให้ตัวโตกว่านี้และเขียนให้ห่างกัน เพราะเด็กจะได้อ่านได้อย่างสบาย หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ได้ออกมานำเสนอปริศนาคำทายของกลุ่มตนเองกลุ่มของดิฉันอาจารย์ก็ได้เสนอแนะว่า ควรวาดภาพให้ต่อเนื่องกัน อย่างอื่นก็ดีแล้วและให้นำไปเล่ากับเด็กที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมพร้อมทำสรุปมาส่งด้วยหลังจากนั้นก็ได้วิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมทักษะของภาษา ดังนี้
- ประกาศ
-โฆษณา
-ประชาสัมพันธ์
-เล่าเรื่องจากภาพ
-ของรักของหวง
-เล่าประสบการณ์
ส่วนเนื้อหาในการเรียนวันนี้ เด็กอายุ 3-4 ปี สามารถเรียน ความซับซ้อนของรูปประโยคในภาษาของตนเองได้แล้ว เด็กจะเรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่ตนได้ยิน และประโยคที่เด็กพูดจะเป็นประโยคที่เด็กสร้างขึ้นมาใหม่มากกว่าการเลียนแบบ
ภาษามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการเกิดของคนเรา
ภาษากำหนดความคิดและการกระทำของคน ภาษามีบทบาทอันสำคัญในกระบวนการพัฒนาการทางสติปัญญา ภาษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญของความคิด สิ่งจำเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษา คือ การสร้างมโนทัศน์
ภาษาจะมีความแตกต่างกันในหลายๆลักษณะไม่มีคนสองคนที่จะพูดเหมือนกันทุกอย่าง
สำหรับบรรยากาศในการเรียนวันนี้ก็รู้สึกเครียดเนื่องจากไม่สบายปวดหัว และเครียดกลัวว่าจะวิเคราะห์งานที่อาจารย์สั่งไม่ได้